อยากออกแบบบ้านสักหลัง แต่ไม่มั่นใจว่าจะออกแบบเองหรือจะหาคนออกแบบบ้านให้ จะเลือกสถาปนิกเจ้าไหนดี?
แล้วถ้าเลือกใช้สถาปนิกจะมีค่าใช้จ่ายเท่าไร? จำเป็นมากขนาดนั้นไหม? หลายคนที่เคยคิดจะทำบ้านคงต้อง
เคยมีคำถามเหล่านี้อยู่ในใจก่อนที่จะเริ่มโปรเจกต์บ้านในฝันของตัวเองไม่มากก็น้อย การหาสถาปนิกสักคนมาเป็นที่ปรึกษาออกแบบบ้านให้และดูแลตั้งแต่กระบวนการออกแบบบ้าน, ยื่นขออนุญาต, หาผู้รับเหมา, ก่อสร้างบ้านจนแล้วเสร็จนั่นก็เหมือนมีผู้ช่วยที่เปลี่ยนความต้องการของคุณให้ออกมาเป็นแบบรูปธรรมอย่างสร้างสรรค์
บ้านที่ผ่านการออกแบบจากสถาปนิกจะถูกออกแบบผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์ที่เหมาะกับผู้อยู่อาศัยอย่างแท้จริง และสถาปนิกยังช่วยแนะนำสิ่งที่ดีที่เหมาะสมตอบโจทย์ความต้องการให้การอยู่อาศัยภายในบ้านของเราเป็นไปอย่างมีความสุข แต่จะทำอย่างไร และได้บ้านในแบบที่ต้องการ เป็นเรื่องที่ควรให้สำคัญไม่แพ้กันจึงจะได้สถาปนิกที่ถูกใจ
เลือกสถาปนิกอย่างไรให้ถูกใจ?
เมื่อสถาปนิกไม่ได้มีคนเดียวในโลก การเลือกสถาปนิกสักคนมาออกแบบบ้านอาจไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับทุกคน การเริ่มต้นมองหาสถาปนิก อาจเริ่มเลือกจากผลงานการออกแบบที่ผ่านมา ประเภทงานที่
สถาปนิกถนัด หรือสไตล์การออกแบบ บริษัทที่มีความน่าเชื่อถือ โด่งดัง หรือจะเป็นการที่คนรู้จักแนะนำมา
‘ความรับผิดชอบ’ คือสิ่งที่สถาปนิกพึงมี
ความรับผิดชอบต่อการออกแบบบ้านภายใต้ความต้องการและข้อจำกัดที่เกิดขึ้น เป็นสิ่งที่สถาปนิกพึงมี ดังนั้นการจะเลือกสถาปนิกสักคนมาเป็นผู้ช่วยในการออกแบบเหนือสิ่งอื่นใดสถาปนิกควรที่จะสามาารถรักษาผลประโยชน์ให้กับเราได้ในทุกๆ ทางได้ด้วยเช่นเดียวกัน เพราะก่อนที่บ้านหลังหนึ่งจะเสร็จสมบูณณ์เป็นที่ถูกใจนั้น สถาปนิกต้องทำการบ้านอย่างหนักไม่ว่าจะเป็นสำรวจบริบทก่อนเริ่มออกแบบรวบรวมข้อมูลและสังเคราะห์ความต้องการของเจ้าของบ้าน และส่วนที่สำคัญที่สุดคือ ต้องไม่ขาดการติดต่อสื่อสาร เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด
หรือความเข้าใจที่ไม่ตรงกันระหว่างการทำงาน ทั้งนี้พื้นฐานกลไกความคิดในการออกแบบยังจะต้องมีจรรยาบรรณในวิชาชีพ เพื่อรักษาผลประโยชน์และสร้างสรรค์ผลงานที่ดีเพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจมากที่สุด
เหตุผลต่างๆ เหล่านี้สามารถนำมาเป็นปัจจัยในการประกอบการตัดสินใจได้ ฉะนั้นการตัดสินใจเลือกขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ออกแบบบ้านว่าเป็นอย่างไร ต้องการได้บ้าน แบบไหน อยู่บ้านกี่คน หรือมีพื้นที่ใช้สอย รวมถึงมีงบประมาณเท่าไหร่ จึงจะเริ่มมองหาสถาปนิกที่สามารถตอบสนองความต้องการได้
คุยแบบอย่างไรให้ได้แบบบ้านตามความต้องการ
การทำงานร่วมกันระหว่างเจ้าของบ้านและสถาปนิก ก็เหมือนลงเรือลำเดียวกัน
หลายๆครั้งที่การสื่อสารอาจจะเกิดความ
เข้าใจที่ไม่ตรงกันเนื่องจากศัพท์เฉพาะทางหรือชื่อของวัสดุบางอย่างที่ลูกค้าไม่ทราบ
สิ่งที่ควรปรับเข้าหากันคือการใช้ศัพท์ภาษากลางที่ทำใหเจ้าของบ้านเข้าใจง่าย ในขณะเดียวกันเจ้าของบ้านเองก็ควรจะเรียนรู้คำศัพท์เฉพาะทางเหล่านี้บ้าง เพื่อให้เข้าใจในมุมมองผู้ออกแบบเช่นเดียวกัน นอกเหนือจากนี้ในเรื่องของการพูดคุยระหว่างการออกแบบบ้านนั้น เจ้าของบ้าน เราควรบอกความต้องการที่มีทั้งหมดให้กับสถาปนิกทราบ และเป็นข้อมูลที่ชัดเจนเช่น หาตัวอย่าง ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพบ้านในแบบที่เราชอบ, โทนสี, วัสดุ ซึ่งระหว่างคุยกับสถาปนิกในหลายๆครั้ง อาจเปลี่ยนรูปแบบได้บ้างหากเจอรูปแบบที่ถูกใจกว่า แต่ไม่ควรเปลี่ยนไปมาบ่อยๆ และควรอยู่ในข้อตกลงระหว่างกันและกันตั้งแต่แรก เพราะจะทำให้เกิดความล่าช้าในการออกแบบ
เอาใจสถาปนิก มาใส่ใจเรา
ในฐานะผู้ออกแบบบ้านอย่างสถาปนิกล้วนมีเป้าหมายเดียวกัน
คือการออกแบบบ้านอย่างไรให้สวยงาม ใช้งานได้จริง และเจ้าของบ้านเกิดความพึงพอใจ แต่ในการทำงานจริงปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกแบบมีหลายปัจจัย
ไม่ว่าจะเป็นความคิด ความต้องการ ความชอบส่วนบุคคล ศาสตร์เฉพาะทาง และความเชื่อ ซึ่งเป็นสิ่งที่ควบคู่กับ
งานออกแบบมาโดยตลอด ซึ่งเป็นสิ่งที่สถาปนิกต้องการสิ่งที่เรียกว่า ‘คอมเมนต์’ ฉะนั้นการเข้าใจมุมมองของสถาปนิก เราควรเปิดใจรับฟังสิ่งที่สถาปนิกอยากสื่อสาร และบอกความต้องการ รวมถึงความรู้สึกที่มีต่องานอย่างแท้จริง เพื่อที่จะได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และสถาปนิกสามารถทำงานหรือแก้ไขงานต่อไปได้ ไปจนกว่าโปรเจกต์จะเสร็จสมบูรณ์ และกลายเป็นบ้านที่สวยงามถูกใจโดยที่เจ้าของบ้านรู้สึกว่าคุ้มค่ากับเงินที่เสียไป
พร้อมๆ กับมีความสุขและรู้สึกว่าฟังก์ชันต่างๆ ลงตัวในทุกเวลาที่ได้ใช้ชีวิตภายในบ้านที่พวกเขาออกแบบ
สุดท้ายนี้การมีสถาปนิกสักคนมาออกแบบบ้าน ก็เหมือนมีผู้ช่วยส่วนตัวที่มาเติมเต็มความสุขในการอยู่อาศัยของเราและครอบครัว ซึ่งก่อนที่บ้านหนึ่งหลัง จะเสร็จสมบูรณ์ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ทั้งเรื่องของระยะเวลา ความยากง่าย การสื่อสาร ทุกๆอย่างมันสัมพันธ์กันหมด
แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้บ้านกลายเป็นนบ้านที่สมบูรณ์ได้นั้น คือ “การเปิดใจรับฟังและเข้าใจซึ่งกันและกันให้มาก และต่างคนต่างทำหน้าที่ของตัวเองอย่างเต็มที่”